ความสำคัญของแคลเซียมต่อกระดูก
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากในร่างกาย แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้และร่างกายก็ยังต้องการแคลเซียมเป็นจำนวนมากในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่แคลเซียมจะอยู่ในกระดูกและฟัน และยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และหัวใจอีกด้วย การขาดแคลเซียมในระยะยาวจะทำให้ร่างกายดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูก ทำให้กระดูกอ่อนแอบอบบางลง เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย ดังนั้นการบริโภคแคลเซียมเสริมกระดูกจึงเป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่า
แคลเซียมเสริมกระดูกหัก ช่วยในการฟื้นฟูอย่างไร
เมื่อกระดูกได้รับความเสียหายหรือได้รับบาดเจ็บ การได้รับแคลเซียมเสริมกระดูก อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกใหม่ได้รวดเร็วแล้วแข็งแรงมากขึ้น เพราะในช่วงที่ร่างกายกำลังซ่อมแซม ร่างกายจะต้องการแคลเซียมมากขึ้นเป็นพิเศษ และควรรับประทานแคลเซียมควบคู่กับวิตามินดีเพื่อให้การดูดซึมของแคลซียมดีมากขึ้นและยังทำให้กระดูกมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายเสี่ยงในการขาดแคลเซียม
- การบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
- ดื่มกาแฟเกินขนาด
- ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
- เป็นคนร่างเล็ก
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน
- กระดูกหักมาก่อน
อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูก
-
อาหารที่มีแคลเซียมสูง
- นมต่าง ๆ เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง
- โยเกิร์ต หรือ ชีส
- ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า บรอกโคลี
- ปลาตัวเล็กที่สามารถกินได้ทั้งตัว
- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้
- ถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ เช่น งา เมล็ดแอลมอนด์
-
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
- แคลเซียมคาร์บอเนตควรรับประทานพร้อมอาหารเพื่อให้การดูดซึมดีขึ้น
- แคลเซียมซิเตรต จะดูดซึมได้ดีที่สุดตอนท้องว่าง เหมาะกับผู้หญิง
- แคลเซียมผสมวิตามินดีเพื่อการดูดซึมที่ดีขึ้น
ปริมาณแคลเซียมที่ต้องการในแต่ละช่วงวัย
- วัยรุ่น 9 – 18 ปี ควรได้รับประมาณแคลเซียม 1300 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ใหญ่ 19 – 50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
- คนที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับแคลเซียม 1000 – 1300 มิลลิกรัมต่อวัน
สัญญาณเตือนว่าอาจจะกำลังขาดแคลเซียม
- เป็นตะคริวบ่อย
- ฟันผุง่าย
- กระดูกหักหรือเปราะง่าย
- มีอาการชาตามมือและเท้า
- มีอาการอ่อนล้าโดยไม่ทราบสาเหตุ
สรุป
การดูแลกระดูกให้แข็งแรงควรเริ่มตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง การเสริมด้วย แคลเซียมเสริมกระดูก หรือการใช้ แคลเซียมเสริมกระดูกหัก ในผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูกระดูกหัก เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคตลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน